เมื่อ : 17 ก.ค. 2566

 

วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ กลุ่มสารนิเทศและ ประชาสัมพันธ์ วช. นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เยี่ยมชมโครงการวิจัย เรื่อง “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อยกระดับมาตรฐานและรักษาคุณภาพสู่ชุมชนต้นแบบการผลิตส้มโอทับทิมสยามเชิงพาณิชย์” 

 

 

 

โดยมี รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นหัวหน้าโครงการฯ เพื่อนำองค์ความรู้จากการวิจัยมาจัดการความรู้แบบครบวงจร พร้อมนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมมาผลักดันชุมชนต้นแบบการผลิตและการจัดการหลังเก็บเกี่ยวของส้มโอทับทิมสยามที่มีคุณภาพสูงที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ 

 

โดยมี รศ.ดร.นริศ ท้าวจันทร์ แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นางปฏิมา ยิ่งขจร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทนเกษตรอำเภอปากพนัง และเกษตรกรในพื้นที่ ร่วมรับฟังการบรรยายและเยี่ยมชมโครงการวิจัยฯ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ส้มโอทับทิมสยาม ไร่ทรัพย์สุวรรณ และสวนส้มโอ ป้าแดง-ลุงแอ๊ด อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
 

 

รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัย โครงการ “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อยกระดับมาตรฐานและรักษาคุณภาพสู่ชุมชนต้นแบบการผลิตส้มโอทับทิมสยามเชิงพาณิชย์” เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพและการยืดอายุการเก็บรักษาส้มโอทับทิมสยาม 

 

สำหรับตลาดในประเทศและส่งออกให้กับกลุ่มเกษตรกร ชุมชนผู้ผลิตและบริษัทภาคเอกชนในพื้นที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึง พัฒนาคุณภาพส้มโอทับทิมสยามให้ได้มาตรฐานสำหรับตลาดในประเทศ Modern Trade และส่งออก สร้าง Learning and Innovation Platform ชุมชนต้นแบบการผลิตและการจัดการหลังเก็บเกี่ยวของส้มโอทับทิมสยาม ที่มีคุณภาพสูงที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ภายใต้กลุ่มสหกรณ์การเกษตรปากพนัง ที่มีการเชื่อมโยงกับระบบการตลาด Modern Trade นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาทักษะการผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของส้มโอทับทิมสยามเชิงพาณิชย์ให้กับบุคลากรทางการเกษตรในท้องที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง หัวหน้าโครงการฯ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันในอำเภอปากพนัง ส้มโอทับทิมสยามได้ขยายพื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้นกว่า 3000 ไร่ เนื่องจากเป็นไม้ผลที่ราคาค่อนข้างสูง โดยพัฒนาการผลิตในรูปแบบ GAP แต่ยังประสบปัญหาทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวคือได้ผลผลิตที่ได้คุณภาพไม่ดี ไม่ได้มาตรฐานทั้งตลาดในประเทศและในการส่งออก ได้แก่ สีของเปลือกผลจะต้องเขียวสด เนื้อผลสีแดงทับทิมเข้ม ความหวาน ประมาณ 9-10 องศาบริกซ์ ทำให้ราคาลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลต่อการตลาดภาพรวมของการผลิตส้มโอทับทิมสยามในพื้นที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 

 

 

 

ผู้บริโภคมองว่าส้มโอทับทิมสยามราคาสูง แต่คุณภาพเนื้อผลไม่สัมพันธ์กับราคาที่สูง อีกทั้งยังประสบปัญหากับแมลงศัตรู เช่น แมลงวันผลไม้เข้าทำลายในช่วงติดผลผลิต ถ้ามีการควบคุมคุณภาพของผลผลิตได้เป็นไปตามมาตรฐาน ก็จะส่งผลให้มูลค่าส้มโอทับทิมสยามสูงขึ้นและสามารถขยายตลาดต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น 

 

ดังนั้น องค์ความรู้ทางด้านหลังการเก็บเกี่ยวเบื้องต้นเกี่ยวข้องกับสรีรวิทยา สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพแคโรทีนอยด์ทั้ง 9 ชนิด ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในเนื้อผลส้มโอทับทิมสยาม การเสื่อมสภาพของส้มโอทับทิมสยาม และการจัดการคุณภาพและการวิเคราะห์ตลาดสำหรับส้มโอทับทิมสยามเพื่อตลาดในประเทศและต่างประเทศ 

 

ดัชนีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม อีกทั้งถ้าเกษตรกรมีความรู้ในการกระตุ้นการพัฒนาสีเนื้อผลก่อนการเก็บเกี่ยวและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามเพื่อ การส่งออก ได้แก่ การจัดการธาตุอาหาร การสร้างภาวะเครียด และเทคโนโลยี Blue-LED นอกจากนี้บูรณาการถ่ายทอดนวัตกรรมโฟมยางพาราล่อแมลงวันผลไม้ในส้มโอทับทิมสยาม 

 

 

 

โดย รศ.ดร.นริศ ท้าวจันทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การใช้ 1-MCP spray โดย รศ.ดร.ณัฐชัย พงษ์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ต้นทุนต่ำ มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพผลิตผลสดหลังการเก็บเกี่ยว สามารถลดการสูญเสียน้ำหนัก และชะลอการเหลืองและปรับปรุงทางด้านคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวได้ 

 

การจัดการความรู้แบบครบวงจรในโซ่การผลิตและเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าวจะนำไปสู่ชุมชนต้นแบบการผลิตและการจัดการหลังเก็บเกี่ยวของส้มโอทับทิมสยามที่มีคุณภาพสูงที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อำเภอปากพนังที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้
 

 

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ คณะนักวิจัยได้นำสื่อมวลชมเยี่ยมชมนวัตกรรมการผลิตส้มโอทับทิมสยามจากโครงการวิจัยดังกล่าว ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ไร่ทรัพย์สุวรรณ นำชมโดย คุณนริศ ช่วยแป้น แห่งไร่ทรัพย์สุวรรณ 

 

โดยสวนไร่ทรัพย์สวุวรรณแห่งนี้เน้นการผลิตส้มโอทับทิมสยามเพื่อการจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก และเป็นหลักในการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ส้มโอทับทิมสยามปากพนังขึ้นมา และการเยี่ยมชมสวนส้มโอป้าแดง-ลุงแอ๊ด นำชมโดย คุณกมลทิพย์ กุลคง แห่งสวนส้มโอป้าแดง-ลุงแอ๊ด ซึ่งสวนแห่งนี้เน้นการผลิตส้มโอทับทิมสยามเพื่อการส่งออกไปยังจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศจีน มีความต้องการบริโภคส้มโอทับทิมสยามเป็นจำนวนมาก 

 

สำหรับส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม มีต้นสำหรับส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม มีต้นกำเนิดสายพันธุ์จากภาคใต้ เปลือกบาง มีเนื้อสีแดงเข้มเหมือนสีทับทิม รสชาติหอมหวาน เนื้อนุ่มน่ารับประทาน ซึ่งส้มโอพันธุ์นี้แตกต่างจากส้มโอพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน อีกทั้งมีการขึ้นทะเบียน เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) 

 

โดยส้มโอทับทิมสยามมีลักษณะประจำพันธุ์ที่โดดเด่น คือ เนื้อผลมีสีชมพูเข้มจนถึงแดงเหมือนสีทับทิม ผิวผลส้มโอและหลังใบมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ ปัจจุบันพบว่าส้มโอพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง และจำหน่ายได้ในราคาสูง โดยเฉพาะกลุ่มผู้รักสุขภาพ เนื่องจากที่มีสารในกลุ่มคาโรทีนอยด์สูงโดยเฉพาะไลโคลีนช่วยต่อต้านอนูมูลอิสระและป้องกันมะเร็ง เฉลี่ยราคาผลละ 160 - 200 บาท จากสวน และราคาขยับตามห่วงโซ่การตลาด และเมื่อถึงปลายทางในประเทศเท่ากับ 600 บาท 

 

ในขณะที่ตลาดปลายทางต่างประเทศ อาทิ ประเทศจีน ราคาสูงถึง 1700 บาท/ผล และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ จนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

ทั้งนี้สายพันธุ์จากภาคใต้ เปลือกบาง มีเนื้อสีแดงเข้มเหมือนสีทับทิม รสชาติหอมหวาน เนื้อนุ่มน่ารับประทาน ซึ่งส้มโอพันธุ์นี้แตกต่างจากส้มโอพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน อีกทั้งมีการขึ้นทะเบียน เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) 

 

โดยส้มโอทับทิมสยามมีลักษณะประจำพันธุ์ที่โดดเด่น คือ เนื้อผลมีสีชมพูเข้มจนถึงแดงเหมือนสีทับทิม ผิวผลส้มโอและหลังใบมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ ปัจจุบันพบว่าส้มโอพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง และจำหน่ายได้ในราคาสูง โดยเฉพาะกลุ่มผู้รักสุขภาพ เนื่องจากที่มีสารในกลุ่มคาโรทีนอยด์สูงโดยเฉพาะไลโคลีนช่วยต่อต้านอนูมูลอิสระและป้องกันมะเร็ง เฉลี่ยราคาผลละ 160 - 200 บาท จากสวน และราคาขยับตามห่วงโซ่การตลาด และเมื่อถึงปลายทางในประเทศเท่ากับ 600 บาท ในขณะที่ตลาดปลายทางต่างประเทศ อาทิ ประเทศจีน ราคาสูงถึง 1700 บาท/ผล และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ จนไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ร่วมกับ อำเภอปากพนัง กำหนดจัดงาน “วันส้มโอทับทิมสยามและของดีลุ่มน้ำปากพนัง” ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ส้มโอทับทิมสยามได้ในงานดังกล่าว
 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ