เมื่อ : 27 ธ.ค. 2566

 
มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จัดกิจกรรมนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ในจังหวัดราชบุรี และ จังหวัดนครปฐม เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรม “จิตศึกษา” แบบบูรณาการ PBL และ PLC ต้นแบบของโรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พัฒนาศักยภาพเด็กไทยในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่ 1400 แห่งทั่วประเทศ นำร่องโรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี

 

นางสาวชนิตา พิลาไชย อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียนวัดโคกทอง (ปริปุณอินทรประชาวิทยา) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีและในฐานะประธานเครือข่ายโรงเรียนนอกกะลา (ภาคกลาง) กล่าวถึงผลความคืบหน้าการใช้นวัตกรรม ”จิตศึกษา” การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ ”PBL” (Problem-Based Learning) และการใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ  ”PLC” (Professional Learning Community)  ซึ่งมีการใช้นวัตกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 1400 แห่งทั่วประเทศ  นำร่องโรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี

 

 

 

 

นางสาวชนิตา พิลาไชย อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียนวัดโคกทอง (ปริปุณอินทรประชาวิทยา) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีและในฐานะประธานเครือข่ายโรงเรียนนอกกะลา (ภาคกลาง) กล่าวถึงผลความคืบหน้าการใช้นวัตกรรม ”จิตศึกษา” การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ ”PBL” (Problem-Based Learning) และการใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ  ”PLC” (Professional Learning Community)  

 

ซึ่งมีการใช้นวัตกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 1400 แห่งทั่วประเทศ โดยได้รับแรงบันดาลใจในการนำนวัตกรรม PBL และ PLC มาใช้จากการไปดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ส่งผลให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดโคกทอง ซึ่งมีอยู่ 107 คน ได้รับวัคซีนทั้งทางจิตใจให้มีสมาธิ และมีสติ ด้วยกิจกรรมภายใต้นวัตกรรมดังกล่าว รวมทั้งยังพบว่า เด็กนักเรียนที่จบชั้นระดับประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถสอบเข้าโรงเรียนชื่อดังในเมืองโพธาราม จังหวัดราชบุรี ได้กว่า 80%

 

”เครื่องมือนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC เป็นเครื่องมือที่ป้องกันการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก หรือ ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ในจำนวนโรงเรียนเล็ก 1000 กว่าแห่งทั่วประเทศที่ถูกยุบและควบรวมโรงเรียนนั้นส่งผลกระทบต่อจิตใจเด็กที่ต้องย้ายไปเรียนโรงเรียนใหม่ซึ่งไกลบ้านมากขึ้น และทำให้วิถีชีวิตของผู้ปกครองต้องเปลี่ยน โดยต้องส่งลูกหลานไปเรียนไกลบ้าน ซึ่งพบว่าผู้ปกครองประสบปัญหาด้านรายได้ที่ลดลง หลายครอบครัวไม่สามารถส่งลูกหลานไปโรงเรียนได้ หากต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น” นางสาวชนิตา กล่าว

 

ในอดีตเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว โรงเรียนวัดโคกทองประสบปัญหาหลายด้าน จนแทบถูกปิดโรงเรียน ทั้งปัญหาขาดแคลนบุคลากรครูที่มีคุณภาพในการสอนและการเข้าใจเด็ก ปัญหาครอบครัวผู้ปกครองเด็กที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพที่เป็นมิจฉาทิฐิ คือ ค้ายาเสพติด ทำให้โรงเรียนวัดโคกทองติดหนึ่งในโรงเรียนขนาดเล็กที่เสี่ยงต่อการถูกปิด และ 

 

นางสาวชลิตา พิลาไชย ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโคกทองในเวลานั้น เร่งนำนวัตกรรม ”จิตศึกษา ” มาใช้ โดยมีการไปศึกษาต้นแบบที่โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยปัจจุบันนวัตกรรมดังกล่าวส่งผลให้โรงเรียนวัดโคกทองเปลี่ยนเป็นโรงเรียนที่มีศักยภาพในการผลิตนักเรียนให้มีคุณภาพทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย รวมทั้งมีการพัฒนาด้านวิชาการอย่างต่อเนื่องทำให้มีผู้ปกครองส่งลูกหลานเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น และในส่วนของโรงเรียนวัดโคกทองพร้อมเปิดรับนักวิจัย เพื่อศึกษาข้อมูลการพัฒนางานด้านการศึกษาในพื้นที่โรงเรียนวัดโคกทอง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อระบบการศึกษาของประเทศไทยในระยะยาว

 

ปัจจุบันโรงเรียนวัดโคกทอง จังหวัดราชบุรี ได้รับการสนับสนุนด้านทุนทรัพย์โดยนายจิราวุฒิ แซ่ตั้ง นายกสโมสรโรตารีราชบุรี ซึ่งมีแนวคิดนำเสนอแนวทางป้องกันการยุบและควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้หลัก 4 คำ ได้แก่ ”บ้าน วัด โรงเรียน และองค์กร” (บวร อ) ซึ่ง “อ” เป็นแหล่งเงินทุนให้งานด้านการพัฒนาการศึกษาขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 

ที่ผ่านมามีภาคเอกชนได้มาร่วมสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนวัดโคกทอง ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พัฒนาโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีโคกทอง และ โครงการสองล้อเพื่อน้องด้อยโอกาส (มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน) เพื่อสนับสนุนจักรยานให้นักเรียน โครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเรียนรู้ และโครงการรีสตาร์ทไทยแลนด์ ปี 2 เพื่อสนับสนุนการจ้างอัตราผู้ช่วยสอน

 

สำหรับโมเดลนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC ยังได้เป็นนวัตกรรมต้นแบบที่นำไปใช้กับโรงเรียนบ้านหนองขาม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยนางปิยนันท์ ทั่งปราณี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองขาม กล่าวว่า นวัตกรรมดังกล่าวทำให้เสริมศักยภาพเด็กให้มีวิธีคิดที่มีสมาธิและมีสติ สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ และยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียน ภายใต้เครื่องมือชุด PBL และ PLC

 

สำหรับโมเดลนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC ยังได้เป็นนวัตกรรมต้นแบบที่นำไปใช้กับโรงเรียนบ้านหนองขาม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยนางปิยนันท์ ทั่งปราณี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองขาม กล่าวว่า นวัตกรรมดังกล่าวทำให้เสริมศักยภาพเด็กให้มีวิธีคิดที่มีสมาธิและมีสติ สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ และยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียน ภายใต้เครื่องมือชุด PBL และ PLC

 

”โรงเรียนบ้านหนองขามต่างจากโรงเรียนวัดโคกทองจังหวัดราชบุรี ตรงที่สังคมสิ่งแวดล้อมรอบๆโรงเรียน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตกรรม ทำให้ผู้ปกครองเด็กไม่ได้ใช้ความรุนแรงกับลูกหลาน และไม่ได้มีปัญหาเรื่องรายได้ในครัวเรือนมากนัก เพราะเน้นการประกอบอาชีพที่สุจริต ทำให้นวัตกรรมจิตศึกเป็นเครื่องมือเพิ่มศักยภาพให้เด็กนักเรียน ขณะที่โรงเรียนวัดโคกทอง จะเห็นชัดเจนว่า นวัตกรรมจิตศึกษาเข้าไปแก้ไข และลดความรุนแรงต่างๆ จนทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว” ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองขาม กล่าว

 

 

 

ทั้งนี้ ในส่วนของต้นแบบนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC มีจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมคือ ครูวิเชียร ไชยบัง ครูใหญ และผู้ก่อตั้งโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมนุษย์ให้มีความเท่าเทียมกัน 

 

การใช้นวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC นั้นเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีเป้าหมายพัฒนามนุษย์และศักยภาพของผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางจิตใจและร่างกาย รวมทั้ง “ใส่โปรแกรม” ให้นักเรียนมีทักษะการใช้ชีวิต การประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเอง และ มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือผู้อื่นและพัฒนาสังคม ทำให้ตารางเรียนประกอบไปด้วยหัวใจหลัก ได้แก่ การเสริมสร้างปัญญาภายใน (Emotional and Spiritual Quotients) และปัญญาภายนอก (Intellectual Quotients)

 

สำหรับมูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา หรือ โครงการ ”แอ็คเซส สคูล” (ACCESS School) ภายใต้แนวคิด ”ชุมชนสร้างโรงเรียน โรงเรียนสร้างชุมชน” โดยสหภาพยุโรป (European Union) ให้การสนับสนุนเงินทุนเพื่อดำเนินงานโครงการดังกล่าว โดยเน้นการลดปัญหายุบและควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการการศึกษาทั้งในระดับพื้นที่และเชิงนโยบาย เพื่อให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพใกล้บ้าน

 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ