เมื่อ : 11 ม.ค. 2567

 

Exclusive New


10 วุฒิสมาชิกมอง “ตราบที่ความยากจนไม่สิ้นแผ่นดิน ต้องทำหน้าที่ต่อ แม้ครบวาระแก้ปัญหาความยากจน ไม่จำกัดขอบเขตเพียงแค่เป็น สว.หรือไม่? เชื่อเป็นภาระกิจแห่งจิตสำนึกในการบูรณาการพลังของทุกฝ่าย ร่วมขับเคลื่อนแก้ความยากจนของแผ่นดิน…“

 

”10 สว.บิ๊กเนม“ เคลื่อนตั้งองค์กรแก้ยากจน ประกอบด้วย

1. นายจเด็จ อินสว่าง 2. พลโทจเรศักณ์ อานุภาพ 3. นายถาวร เทพวิมลเพชรกุล 4. นายประพันธุ์ คูณมี 5. นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป 6. พันตำรวจตรียงยุทธ สาระสมบัติ 7. นายสรณัฏฐ์ สาระสมบัติ 8. นายสังศิต พิริยะรงัสรรค์ 9. นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ 10. นายอนุศักดิ์ คงมาลัย และ 11. นายอุปกิต ปาจารียางกรู

 

รายงานข่าวจากรัฐสภาแจ้งว่า สมาชิกวุฒิสภา 10 คน ตามรายชื่อดังกล่าวมีการประชุมที่ห้องประชุมกรรมาธิการ 201 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 13.00 นาฬิกา เป็นการประชุมมูลนิธิแก้จน ครั้งแรกของการก่อตั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายวันชัย สุทธิอารีกุล นายธนะพัฒน์ เดชเลิศวรพัฒน์ นางสาวเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง นายอำนาจ เฮี๊ยะหลง นายชนศวรรตน์ ธนศุภรณ์พงษ์ และนางสาวพรอนันด์ แป้นนาบอน

 

 

 

การประชุมในระเบียบวาระที่ 3 ดังกล่าวมีการพิจารณาเลือกตำแหน่งในคณะกรรมการมูลนิธิแก้จน และได้มีมติเลือกคณะกรรมการมูลนิธิแก้จน ดังนี้

1) นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิแก้จน
2) นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิแก้จน คนที่หนึ่ง และ
3) นายจเด็จ อินสว่าง เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิแก้จน คนที่สอง
4) นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการมูลนิธิแก้จน
5) พันตำรวจตรียงยุทธ สาระสมบัติ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการมูลนิธิแก้จน

 

จากนั้น นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานกรรมการมูลนิธิแก้จน ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมเพื่อดำเนินการประชุมตามระเบียบเพื่อพิจารณาร่างวัตถุประสงค์ของมูลนิธิแก้จน ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างวัตถุประสงค์ของมูลนิธิแก้จน ดังนี้

1) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนให้แก่คนจนทั้งในภาคการเกษตรและคนจนนอกภาคการเกษตรในทุกมิติทั่วทั้งประเทศ ครอบคลุมทั้งเรื่องน้ำ ที่ดิน ป่า อากาศ สิ่งแวดล้อม การผลิตและการตลาด

2) มุ่งเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนนวัตกรรมการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กทุกรูปแบบ เช่น ฝายแกนดินซีเมนต์ และเครื่องมือกักเก็บน้ำขนาดเล็กนอกพื้นที่เขตชลประทาน และในพื้นที่ชลประทานที่ยังขาดแคลนน้ำ เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้ทั้งทางด้านการผลิต บริโภค และอุปโภคตลอดทั้งปี

3) มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ทั้งทางด้านรายได้ การดำเนินชีวิต จิตใจคุณธรรมและวัตถุ โดยการเผยแพร่ความรู้ และการใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ในการทำเกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรที่มีมูลค่าสูงที่ไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง การเกษตรที่ไม่เป็นภัยต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และธรรมชาติ เป็นการเกษตรอินทรีย์

4) มุ่งส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร การตลาด เพื่อชุมชนและสังคม ตลอดจนการท่องเที่ยวของชุมชน

5) ร่วมมือและส่งเสริมบทบาทของประชาชนทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐบาลทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลต่างประเทศ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรระหว่างประเทศในการแก้ปัญหาความยากจน

 

6) มุ่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ เผยแพร่ความรู้ การนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ และใช้นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาความยากจน

7) ส่งเสริมการทำงานวิชาการ การศึกษาวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย และสถาบันอาชีวศึกษาสนับสนุนการศึกษา การดูงาน การประชุมและสัมมนา ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

8) เป็นผู้ให้ทุนและเป็นผู้รับทุนที่คณะกรรมการมูลนิธิแก้จนเห็นว่าตรงตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมูลนิธิแก้จน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ประเทศชาติและมนุษยชาติ และ

9) มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น คุณธรรมความดีงาม และความมีนำ้ใจให้เป็นกลไกหนึ่งในการสร้างความรัก ความสามัคคี และความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต คุณธรรมและวัฒนธรรมของประชาชน

 

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ในฐานะประธานกรรมการ ”มูลนิธิแก้จน“ เปิดเผยหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมว่า “ตราบที่ความยากจนไม่สิ้นไปจากแผ่นดิน ต้องทำหน้าที่ต่อแม้ครบวาระ เรามองว่าแก้ปัญหาความยากจนไม่จำกัดขอบเขตเพียงแค่เป็น สว.หรือไม่ เชื่อเป็นภาระกิจแห่งจิตสำนึกในการบูรณาการของทุกฝ่ายร่วมกันขับเคลื่อนแก้ความยากจนของแผ่นดิน…“

สวัสดีครับ…จากผมเอง

สังศิต พิริยะรังสรรค์

ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

9 มกราคม 2567

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ