เมื่อ : 21 มี.ค. 2567


จากกรณีรถยนต์กระบะ หมายเลขทะเบียน บฉ–8666 อ่างทอง เฉี่ยวชนกับรถยนต์เก๋ง หมายเลขทะเบียน 5กค–9199 กรุงเทพมหานคร และเสียหลักตกคูน้ำข้างทางทั้ง 2 คัน บริเวณถนนสายเอเชีย (ฝั่งขาขึ้น) หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 5 ราย เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2567 

 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดยสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค สำนักงาน คปภ. ภาค 2 (นครสวรรค์) และสำนักงาน คปภ. จังหวัดสิงห์บุรี ในฐานะเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ ได้ตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัย พร้อมทั้งติดตามรายงานความเสียหายอย่างเร่งด่วนผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งลงพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับครอบครัวของผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม 
 

 

 

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จังหวัดสิงห์บุรี ได้ลงพื้นที่ทันทีและจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า รถยนต์กระบะ หมายเลขทะเบียน บฉ–8666 อ่างทอง ทำประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กับบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2566 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2567 คุ้มครองกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500000 บาทต่อคน 

 

กรณีบาดเจ็บค่ารักษาสูงสุดไม่เกิน 80000 บาทต่อคน กรณีสูญเสียอวัยวะ 200000-500000 บาทต่อคน กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร 300000 บาทต่อคน และกรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในจะได้รับค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน และได้ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภท 3 ไว้กับบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2566 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2567 

 

โดยกรมธรรม์ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก จำนวน 500000 บาทต่อคน 10000000 บาทต่อครั้ง ความรับผิดต่อทรัพย์สิน 1000000 บาทต่อครั้ง สำหรับความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพของผู้ขับขี่ จำนวน 50000 บาท ผู้โดยสาร 2 คน ๆ ละ 50000 บาทต่อคน และค่ารักษาพยาบาล จำนวน 50000 บาทต่อคน ประกันตัวผู้ขับขี่ 200000 บาทต่อครั้ง 
 

 

 

ส่วนรถยนต์เก๋ง หมายเลขทะเบียน 5กค–9199 กรุงเทพมหานคร ทำประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.)         กับบริษัท ไทยไพบูลย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 11 มกราคม 2567 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 11 มกราคม 2568 คุ้มครองกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500000 บาทต่อคน กรณีบาดเจ็บค่ารักษาสูงสุดไม่เกิน 80000 บาทต่อคน กรณีสูญเสียอวัยวะ 200000-500000 บาทต่อคน กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร 300000 บาทต่อคน และกรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในจะได้รับค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน และได้ทำประกันภัยภาคสมัครใจ ประเภท 3 ไว้กับบริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568

 

โดยกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง ต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก จำนวน 500000 บาทต่อคน 10000000 บาทต่อครั้ง ความรับผิดต่อทรัพย์สิน 1000000 บาทต่อครั้ง สำหรับความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพของผู้ขับขี่จำนวน 100000 บาท ผู้โดยสาร 2 คน ๆ ละ 100000 บาทต่อคน  และค่ารักษาพยาบาล จำนวน 100000 บาทต่อคน ประกันตัวผู้ขับขี่ 300000 บาทต่อครั้ง
 

 

 

สำหรับการติดตามค่าสินไหมทดแทนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เบื้องต้นผลคดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ทั้งนี้ ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบอุบัติเหตุที่เสียชีวิต จำนวน 5 ราย โดยเบื้องต้นจะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัย ดังนี้
1. ผู้ขับขี่รถยนต์กระบะ หมายเลขทะเบียน บฉ–8666 อ่างทอง จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพ จากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จำนวน 35000 บาท และจะได้รับความคุ้มครองอุบัติเหตุ        ส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ จำนวน 50000 บาท จากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ส่วนผู้โดยสาร จำนวน 1 ราย จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จำนวน 500000 บาท และจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภท 3 คุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ จำนวน 50000 บาท 
2. ผู้ขับขี่รถยนต์เก๋ง หมายเลขทะเบียน 5กค–9199 กรุงเทพมหานคร จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่าปลงศพจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จำนวน 35000 บาท และจะได้รับความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพของผู้ขับขี่ จำนวน 100000 บาท จากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภท 3 ส่วนผู้โดยสาร จำนวน 2 ราย จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) รายละ 500000 บาท และจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจประเภท 3 คุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ   ทุพพลภาพ รายละ 100000 บาท 
 

โดยในวันที่ 16 มีนาคม 2567 สำนักงาน คปภ.ภาค 2 (นครสวรรค์) และ สำนักงาน คปภ. จังหวัดสิงห์บุรี   ได้ประสานงานกับบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยไพบูลย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)  และบริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพื่อรวบรวมเอกสารและอำนวยความสะดวกเพื่อดำเนินการชดใช้          ค่าสินไหมทดแทนอย่างรวดเร็ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอทายาทโดยธรรมจัดเตรียมเอกสารให้แก่บริษัทประกันภัย
 

นอกจากนั้น สำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างบูรณาการร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกัน
วินาศภัยไทย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ผู้ประสบภัยหรือผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้มีการทำประกันภัยเพิ่มเติมนอกเหนือจากนี้อีกหรือไม่ หากตรวจสอบพบว่ามีการทำประกันภัยก็จะได้รับสิทธิตามสัญญาประกันภัยที่ระบุไว้ทุกประการ
 

สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุครั้งนี้ และพร้อมจะดูแลในด้านประกันภัยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลาและกับทุกคน เพื่อความอุ่นใจ ควรให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงภัย โดยเฉพาะการประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) การประกันภัยรถ  ภาคสมัครใจ และการประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยบริหารความเสี่ยงและเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านประกันภัย
 

ติดต่อสายด่วน คปภ. 1186
 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ