S L B news : ดันเศรษฐกิจไทยด้วยการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องมือห้องปฏิบัติการ-เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ในงาน Thailand LAB INTERNATIONAL Bio Asia Pacific FutureCHEM และ Health & Innovation Asia 2024
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 11 กันยายน 2024: งาน Thailand LAB INTERNATIONAL Bio Asia Pacific และ FutureCHEM INTERNATIONAL ครั้งที่ 14 ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ พร้อมกับการเปิดตัวงาน Health & Innovation Asia 2024 ครั้งแรก งานแสดงสินค้าจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน พ.ศ. 2567 โดยมีการนำเสนอสินค้านวัตกรรมจากแบรนด์ชั้นนำกว่า 500 แบรนด์ และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 12000 คนจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ ชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ เคมี และสุขภาพ
พิธีเปิดงานได้รับเกียรติจากแขกผู้มีเกียรติหลากหลายท่านร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ นำโดย นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร. จิตต์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) นายภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) นายพงศ์ศักดิ์ ฟูศิริ นายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางสาวปนัดดา ก๋งม้า รองประธานสายงานธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา และ นายแร็มโก ฟัน ไวน์คาร์เดิน เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประจำราชอาณาจักรไทย โดยแขกผู้มีเกียรติทุกท่านได้ร่วมเปิดงานอย่างเป็นทางการพร้อมเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าที่นำเสนอความก้าวหน้าล่าสุดด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางสุขภาพอย่างครบวงจร
”กระทรวง อว. มีวิสัยทัศน์ในการ “สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต ซึ่งงาน Thailand LAB INTERNATIONAL 2024 Bio Asia Pacific 2024 FutureCHEM INTERNATIONAL 2024 และ Health & Innovation Asia 2024 ตอบโจทย์ในการเป็น Platform เพื่อการพบปะ เจรจาธุรกิจระหว่างนักวิจัย นักลงทุน ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้ซื้อและผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งจากในและต่างประเทศ
ซึ่งดำเนินการไปในทิศทางที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ” นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อ
ประเทศไทยผ่านงานแสดงสินค้าตลาดอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการทั่วโลกคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 53700 ล้านดอลลาร์ภายในปีพ.ศ. 2570 และฐานที่ตั้งของไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีที่จะดึงดูดการลงทุนระดับนานาชาติเข้ามา งาน Thailand LAB INTERNATIONAL และงานที่เกี่ยวข้องเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยคาดว่าผู้เข้าร่วมงานจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศกว่า 450 ล้านบาท รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างงาน และการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจ 4.0 ของประเทศไทยที่เน้นเศรษฐกิจฐานความรู้ ในส่วนของเทคโนโลยีสุขภาพมีบทบาทสำคัญในแผนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีศักยภาพสูงในการขยายตัวทั่วโลกที่คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 600000 ล้านดอลลาร์ภายในปีพ.ศ. 2568
งานแสดงสินค้าในครั้งนี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันความสำเร็จทางเศรษฐกิจและสร้างพันธมิตรในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและสุขภาพในอนาคตต่อไป
“Thailand LAB INTERNATIONAL ถือเป็นงานสำคัญในการนำงานอื่นๆ ให้พัฒนาไปพร้อมๆกัน เพื่อช่วยผลักดันให้กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 4 ในการการยกระดับในด้านการ ค้นคว้า วิจัย ผลิตสินค้าและบริการ และสามารถแข่งขันในตลาดโลก ตลอดจนกระตุ้นการลงทุนในตลาดการค้าเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ
งานวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์ เคมี รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม การแพทย์และสุขภาพสมัยใหม่ ให้พัฒนาอย่างยั่งยืนโดยงานในปีนี้มีผู้ประกอบการ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคมทั้งในและต่างประเทศ เข้าร่วมงานทั้งสิ้นกว่า 300 บริษัท จาก 500 แบรนด์ชั้นนำ และมีบริษัทต่างชาติเข้าร่วมงานมากกว่าเดิมถึง 20% โดยมี International Pavilions จากเนเธอแลนด์ อินเดีย จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ครอบคลุมพื้นที่การจัดแสดงสินค้าทั้งหมดกว่า 14000 ตารางเมตร
ในศูนย์นิทรรศการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ” นางสาวปนัดดา ก๋งม้า รองประธานฝ่ายธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค กล่าว
“ในปีนี้ เราภูมิใจที่ได้นำเสนองาน “Bio Asia Pacific” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพของประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “ Life Science Technology for Sustainable Health Equity”
ภายในงานปีนี้ ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการและการประชุมสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญของไทยและนานาชาติ นอกจากนี ยังมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงความร่วมมือทางธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานวิจัยเพื่อเข้าสู่การลงทุนในอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ อาทิ Medical AI Accelerator program Pitching Competition กิจกรรม One-on-One Partnering และการลงนาม MOU เพื่อสร้างเครือข่าย ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถของงานวิจัยและพัฒนา
Thailand OECD GLP/Non-OECD GLP Preclinical Testing Network” กล่าวโดย ดร. จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
“ผมขอชื่นชมงาน Thailand LAB INTERNATIONAL ที่ได้แสดงผลงานมาตลอด 13 ปีและย่างเข้าสู่ปีที่ 14 ในปีนี้ จนสามารถพัฒนาตนเองเป็นงานแสดงสินค้าและงานประชุมนานาชาติด้านเครื่องมือ เทคโนโลยี นวัตกรรมทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค”
นายภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าว “การขยายตัวของงาน ไม่เพียงแต่ช่วยตอกย้ำสถานะของประเทศไทยในฐานะจุดหมายอันดับหนึ่งของภูมิภาคอาเซียนสำหรับการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ ยังตอบสนองการเติบโตและขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม และช่วยยกระดับการพัฒนาของประเทศ และสร้างผลสำเร็จเชิงธุรกิจของผู้ประกอบการ”
ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมเยี่ยมชมงาน Thailand LAB INTERNATIONAL Bio Asia Pacific FutureCHEM INTERNATIONAL Health & Innovation Asia ระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ ฮอลล์ 102- 104 ไบเทค กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 10:00-17:00 น.
ลงทะเบียนได้ที่บริวเณหน้างาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม www.thailandlab.com หรือ www.bioasiapacific.com หรือ https://health-innovation-asia.com สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-1116611 ต่อ 330-335 อีเมล communications@vnuasiapacific.com
ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมเยี่ยมชมงาน Thailand LAB INTERNATIONAL Bio Asia Pacific FutureCHEM INTERNATIONAL Health & Innovation Asia ระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ ฮอลล์ 102- 104 ไบเทค กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 10:00-17:00 น.
ลงทะเบียนได้ที่บริวเณหน้างาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม www.thailandlab.com หรือ www.bioasiapacific.com หรือ https://health-innovation-asia.com สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-1116611 ต่อ 330-335 อีเมล communications@vnuasiapacific.com