เมื่อ : 06 ก.พ. 2566


 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 วันที่สี่ของงานวันนักประดิษฐ์ 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา : บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมการบ่มเพาะเยาวชนระดับอุดมศึกษาด้วยวิจัยและนวัตกรรม มีการบรรยายให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ให้กับเยาวชน เรื่อง “Social Innovation to Sustainable Development : นวัตกรรมทางสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน และนักศึกษา โดย นายสุวัฒน์ มีมุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาองค์กรดิจิทัล บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด
    

 

 

 

นายสุวัฒน์ มีมุข กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของบางจากด้านนวัตกรรมทางสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน(Social Innovation to Sustainable Development) คือรังสรรค์โลกยั่งยืนด้วยนวัตกรรมสีเขียว โดยมีค่านิยน 5 ข้อ สร้างสรรค์ ปรับได้ กล้า เข้าใจ และ ทุ่มเท

วันนี้กลุ่มบางจาก แบ่งเป็น 6 กลุ่มบริษัท กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน กลุ่มธุรกิจการตลาด กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้า(บีซีพีจี) กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ(บีบีจีไอ) กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและธุรกิจใหม่ และกลุ่มการบริหารนวัตกรรม มีการบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(United Nations Sustainable Development Goals (UN SDGs) พัฒนานวัตกรรมธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม เข้ากับการดำเนินธุรกิจ โดยได้มุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อ

 9 เป้าหมายหลักที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจและสมรรถนะของบริษัทฯ รวมถึงสภาพปัญหาสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืนที่สำคัญของโลก โดยดำเนินงานผ่านโครงสร้างการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนองค์กรในแต่ละระดับ มีการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และแผนงานในการตอบสนองที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละเป้าหมาย รวมถึงมีการตรวจติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตาม SDGs(Sustainable Development Goals) และรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายความยั่งยืนองค์กร (SPC) ทุกไตรมาส เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทฯ สอดคล้องและเป็นไปตามเป้าหมายการตอบสนองต่อ SDGs มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ. 2030 เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2050
    ”ให้น้องๆ มีจุดเริ่มคิดว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ให้เป็นส่วนเริ่มต้น แล้วหาวิธีแก้ปัญหา เริ่มจากจุดเล็กๆ กระจายออกไปเหมือนมด แล้วร่วมกันหาทางออก ในพื้นที่ของตัวเองก่อน แล้วก็จะมีพลังขับเคลื่อนให้ไปถึงสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมแปลกๆใหม่ๆในระดับกลางและระดับใหญ่ได้ โดยทาง อว. โดย วช. ก็มีเงินส่งเสริมเพื่อให้ทดลองทำจริงๆ ต้องลงมือทำจากเล็กๆมารวมกันก็จะใหญ่มากขึ้น จะมีแหล่งเงินทุนเข้ามาเสริมก็ต่อเมื่อมีไอเดียที่ดีและสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับน้องๆเยาวชนรุ่นใหม่ทุกคน” นายสุวัฒน์ มีมุข กล่าว 
    ขอเชิญชวนทุกท่านผู้มีความสนใจเข้าร่วมชมงาน “วันนักประดิษฐ์ 2566” (Thailand Inventors’ Day 2023) ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-17.00 น. ณ อีเวนท์ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา หรือ สามารถชมงานผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ http://inventorsdayregis

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ