วช. มอบรางวัลติดดาว 18 ผลงานเด่น นวัตกรรมนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา สร้างแรงจูงใจในกิจกรรมบ่มเพาะภาคใต้ ปี 66 ที่สุราษฎร์ธานี
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
จัดพิธีปิดกิจกรรม “การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ประจำปี 2566 ภาคใต้” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 10 มีนาคม 2566 และพิธีมอบเกียรติบัตรผลงานติดดาวผลงานเด่นอาชีวศึกษา จำนวน 18 ผลงาน
โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมฯ และมอบรางวัลฯ ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
จัดกิจกรรมการ บ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของปี 2566 ที่ภาคใต้ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับความสนใจและมีสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก
ซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาทั้งคณาจารย์และนักศึกษา ที่ร่วมกันเรียนรู้จากการบ่มเพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านในที่นี้ตลอด 3 วันที่ผ่านมาอย่างเข้มแข็ง อีกทั้งเป็นการพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้สามารถร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นและแรงบันดาลใจที่จะนำพลังของคนอาชีวะ ไปเพิ่มประสิทธิภาพของงานสิ่งประดิษฐ์ที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตได้อย่างเต็มภาคภูมิ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
สำหรับรางวัลติดดาวของทีมอาชีวศึกษาที่มีผลงานและการนำเสนอได้อย่างโดดเด่น เป็นต้นแบบการพัฒนาและการต่อยอดเป็นประดิษฐกรรมและนวัตกรรม สำหรับการส่งเสริมให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานตามทิศทางวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 18 ผลงาน ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่
- ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
ผลงานเรื่อง “ระบบวินิจฉัยศัตรูของทุเรียน” โดย วิทยาลัยเทคนิคชุมพร
ผลงานเรื่อง “เครื่องผสมเกสรดอกทุเรียน” โดย วิทยาลัยเทคนิคสงขลา
ผลงานเรื่อง “ตู้อบและรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์” โดย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ตัดและเก็บหญ้าต่อซาเล้ง” โดย วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน
- ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
ผลงานเรื่อง “ข้าวหมูฮ้องแผ่นกรอบเสริมสาหร่ายพวงองุ่น” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
ผลงานเรื่อง “แว็กซ์กำจัดขน อโลเวล่าพลัส” โดย วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
ผลงานเรื่อง “แท่นวางปากกาฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ” โดย วิทยาลัยเทคนิคสงขลา
ผลงานเรื่อง “เครื่องฟอกอากาศด้วยยูวีและโอโซน” โดย โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ
ผลงานเรื่อง “ระบบคำนวณค่าไฟฟ้าสำหรับหอพัก” โดย โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
ผลงานเรื่อง “ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อจำแนกคุณภาพของเมล็ดข้าวสารเพื่อการส่งออก” โดย วิทยาลัยเทคนิคชุมพร
ผลงานเรื่อง “เรื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สรั่วไหลแบบใช้งานในครัวเรือน” โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
- ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม
ผลงานเรื่อง “เครื่องกลั่นสุราพื้นบ้านแบบเติมน้ำหมักป้อนระบบกึ่งอัตโนมัติ” โดย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
ผลงานเรื่อง “เรือไฟฟ้าสำหรับเก็บขยะชายฝั่งทะเลและแนวปะการัง” โดย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
ผลงานเรื่อง “เครื่องผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล พลังงานโซล่าเซลล์” โดย วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
ผลงานเรื่อง “เครื่องกลั่นรีไซเคิลน้ำยา F11” โดย วิทยาลัยเทคนิคสงขลา
- ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ผลงานเรื่อง “โคมไฟมินิมอลกระดาษเยื่อกล้วยหอมทอง บางน่าหอม” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
ผลงานเรื่อง “แผ่นรองฝาชักโครกสมุนไพร” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
ผลงานเรื่อง “เมอร์แรงมะม่วงเบา” โดย วิทยาลัยการอาชีพสิงหนคร
พร้อมนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. ที่ร่วมเป็นวิทยากรในการบ่มเพาะบุคลากรสายอาชีวศึกษา ได้ร่วมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะทุกสถาบันการศึกษา ที่ร่วมเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสมรรถนะในครั้งนี้ด้วย
สำหรับกิจกรรม “การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ประจำปี 2566”
วช. ได้ร่วมกับ สอศ. จัดขึ้นเพื่อร่วมกันวางกลไกและจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและบุคลากรขอสถาบันการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้มีทักษะและคุณลักษณะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลก สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ ซึ่งจัดกิจกรรมในรูปแบบการบ่มเพาะให้ความรู้และเทคนิคแนวการคิดในระยะเวลา 3 วัน
โดยนักเรียน นักศึกษา จากสถาบันอาชีวศึกษาที่เข้ารับการอบรม จะนำเอกสารเชิงแนวคิด หรือ Concept Paper มาให้ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป