เมื่อ : 24 มี.ค. 2566

 

วันนี้ (23 มี.ค. 66) ที่บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ชั้น 1 สำ นักงานใหญ่ 1115 ถนนพระราม แขวง ช่องนนทร ี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 

 

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการดำ เนินโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เพื่อสนับสนุนการรณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผ้าไทย ตาม โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ระหว่าง  นาย สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย นาย อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย สมาคมแม่บ้านมหาดไทย และ ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริ ษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงนาม 

 

โดยมีนายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางสาวปนัดดา ชุติโกมล ผู้อำนวยการฝ่ายสำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำ กัด (มหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยาน นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม อุปนายกสมาคม นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ร่วมในพิธี
 

 

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชชนนีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพลิกฟื้นผ้าไทย ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระปรีชาญาณและกำลังพระราชทรัพย์ ต่าง ๆ ยาวนาน รื้อฟื้นขึ้นมา ทำให้ผ้าไทยกลับคืนสู่สังคมไทย ชาวบ้านภาคภูมิใจ เป็นอาชีพเลี้ยงดูชีวิตและครอบครัวได้ 

 

“สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงมีพระราชดำริ ว่า ขาดทุนของพระองค์ คือกำไรของชาติ ทรงชุบชีวิตผ้าไทยขึ้นมา กระทั่งมาถึงวันนี้ คนทอผ้าของเรามีมากพอที่จะรักษามรดกภูมิปัญญาไว้ได้แล้ว”

“ด้วยพระบารมีปกเกล้าของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงรื้อฟื้นผ้าไทยขึ้นมา ให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ต่อจากนี้เป็นหน้าที่ของเรา ลูกหลานในการสืบสานทอดต่อไป วิธีการที่ดีที่สุด เราต้องภาคภูมิใจในการสวมใส่ผ้าไทย เพื่อให้ความต้องการสวมใส่ผ้าไทย เป็นตัวกระตุ้น ทำให้ภูมิปัญญานี้ยังคงอยู่กับพ่อครู แม่ครู และลูกหลานที่จะสืบทอดภูมิปัญญานี้ต่อไป ตลอดระยะเวลา 70 ปี ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชชนนีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของคนไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งแรก

 

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีพุทธศักราช 2498 ได้ทอดพระเนตรเห็นราษฎรนุ่งซิ่นไหมมัดหมี่กันเป็นส่วนใหญ่ จึงได้ มีพระราชดำร ิว่าควรจะมีการนำ ภูมิปัญญาของราษฎรที่ได้ทอผ้าไว้ใช้กันอยู่มาพัฒนาเป็นอาชีพให้เกิดรายได้แก่ราษฎร ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้ทรงก่อตั้งมูลนิธิพระบรมราชินีนาถขึ้น ส่งเสริมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ปีพุทธศักราช 2519 เพื่อทำการฝึกอาชีพเสริมให้กับราษฎร อีกทั้งยังมีพระประสงค์ เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของคนไทยให้คงอยู่สืบไป ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการสานต่อสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระราชทาน ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน

 

อีกทั้งยังได้ผลักดันอยู่คู่แผ่นดินโดยได้จัดทำโครงการ “สืบสานอนุรักษ์ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย จนเป็นมติคณะรัฐมนตร ี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 เห็นชอบมาตรการดังกล่าว โดยการรณรงค์เชิญชวนคนไทยสวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละสองวัน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และคณะรัฐมนตร ีได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริม และสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย 

 

ด้าน  ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า สมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ขับเคลื่อนส่งเสริมการใช้ผ้าไทย โดยน้อมนำ แนวพระดำร ิ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวร ี นารีรัตนราชกัญญา สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตร ี ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย 

 

โดยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพหลักในการรณรงค์เชิญชวน ให้คนไทยสวมใส่ผ้าไทย เพิ่มขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน และเผยแพร่ภูมิปัญญาผ้าไทยในทุกโอกาส สมาคมแม่บ้านมหาดไทยเป็นผู้นำ แม่บ้านมหาดไทยทุกจังหวัด และผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ร่วมสวมใส่ชุดผ้าไทยที่ได้รับการออกแบบตัดเย็บโดยช่างตัดเย็บในท้องถิ่น นำผืนผ้ามาสรรค์สร้างเป็นผลงานที่มีความสวยงามสะท้อนความคิดอันสร้างสรรค์ และเรื่องราวความเป็นมาตามอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัด เพื่อสนองแนวพระดำร ิ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสริวัณณวร ี นารีรัตนราชกัญญา ผู้ทรงมีพระปณิธาน ที่มุ่งมั่น แน่วแน่ ในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบร ราชชนนีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด  เพื่อต่อลมหายใจให้ผืนผ้าไทย ให้พี่น้องประชาชนเกษตรกรในชนบท 

 

 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างทอผ้าและผู้ประกอบการผ้า ได้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้จากภูมิปัญญา หัตถศิลป์ หัตถกรรม ที่สืบสานถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ผสมผสานต่อยอด ด้วยหลักวิชาการแฟชั่นสมัยใหม่ให้ตรงตามความต้องการของตลาด สอดคล้องกับความนิยมชมชอบ ของประชาชน เป็นผลงานที่ร่วมสมัย ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความสุขให้กับครอบครัว ชุมชน เพื่อร่วมสร้างสังคมที่มีความยั่งยืนในทุกมิติ- 3 –

 

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน สมาคมแม่บ้านมหาดไทย และ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระดำร ิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับเข้าสู่ชุมชน เป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค และส่งเสริม กระตุ้น ผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัยและทุกโอกาส เพื่อร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู สนับสนุน ส่งเสริม สืบสานเอกลักษณ์ประจำชาติเพื่อร่วมอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมแต่งกายด้วยผ้าไทยให้คงอยู่สืบไป และส่งเสริมให้ตระหนัก ในคุณค่าและรักวัฒนธรรมไทย 

 

 

 

โดยมีกิจกรรมความร่วมมือ ประกอบด้วย การสวมใส่ผ้าไทย ของผู้บริหาร และพนักงาน บมจ. ทิพยประกันภัย ในทุกวันศุกร์โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2566 จนถึง วันที่ 23 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567 และมีกิจกรรม การประกวดการแต่งกายด้วยผ้าไทยของผู้บริหาร และพนักงาน บมจ. ทิพยประกันภัย ภายใต้ชื่อ “ชิคแอนด์ชิล ด้วยผ้าไทย ไปกับทิพย

 

ภายในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2566 รวมถึงการนำผ้าไทยทุกชนิดมาแลกเปลี่ยนกับผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัย ตามราคาขายของ ผ้าไทยที่นำมาแลก ซึ่งจะไม่เกินค่าเบี้ยประกันภัย ของ บมจ.ทิพยประกันภัย อีกทั้งการมอบของที่ระลึก ในนาม บมจ. ทิพยประกันภัย แก่คู่ค้าโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผ้าไทย รณรงค์ให้มีการสวมใส่ผ้าไทย เพื่อให้มีการอนุรักษ์ผ้าไทย และมีการสวมใส่ผ้าไทยในทุกโอกาส สนับสนุนการรณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผ้าไทย ตาม โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” อย่างต่อเนื่อง

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ