เมื่อ : 01 ก.ย. 2566

 

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ พลเอก กนก ภู่ม่วง เป็นประธาน  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการวิจัย เรื่อง “การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม 

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย” ซึ่ง วช. ให้ทุนสนับสนุนทุนวิจัย โดย รองอธิการบดี ผศ.ดร.ยิ่งศักดิ์  คชโคตร หัวหน้าโครงการวิจัย แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กล่าวถึงผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการ มีคณะนักวิจัย พร้อมด้วย นายอุทิศ มหามณี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ชาวบ้านในชุมชนบ้านห้วยเหล็ก ให้การต้อนรับ ณ บ้านห้วยเหล็ก ตำบลกกดู่ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

 

พลเอก กนก ภู่ม่วง ประธานผู้ทรงคุณวุฒิ วช.
กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ 

 

ในการบ่มเพาะวิศวกรสังคมด้วยกระบวนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยอาศัยแนวทางกระบวนการ “วิศวกรสังคม” ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษาให้กลายเป็น นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน เป็นกระบวนการทำงานหลักองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยและนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น ส่งเสริมให้นักศึกษาวิศวกรสังคมสามารถดำเนินการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ณ บ้านห้วยเหล็ก ตำบลกกดู่ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 

 

โดยนำหลักแนวคิดวิศวกรสังคมมาสู่การสร้างโจทย์และการปฏิบัติงานร่วมกับท้องถิ่นได้อย่างมีส่วนร่วมสร้างความเข้มแข็งการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยใช้นวัตกรรมมาช่วยสร้างความเข้มแข็งในทุกมิติ

 

ผศ.ดร.ยิ่งศักดิ์  คชโคตร หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า คณะนักวิจัย มรภ.เลย ได้ดำเนินการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย” ได้เข้ามาแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยอาศัยแนวทางกระบวนการวิศวกรสังคม  เพื่อสร้างคุณลักษณะสำคัญ 4 ประการได้แก่ 1. การคิดเชิงวิพากษ์ 2. ความคิดสร้างสรรค์ 3. ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น และ 4. การสื่อสาร อันเป็นทักษะจำเป็นเพื่อศตวรรษที่ 21 

 

เพื่อใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างบัณฑิตของ มรภ.เลย ที่มีคุณลักษณะสำคัญ 4 ด้าน ประกอบด้วย หนึ่ง มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง สอง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม สาม มีงานทำ มีอาชีพ และ สี่ เป็นพลเมืองที่ดี ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

 

นายอุทิศ มหามณี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  กล่าวว่า บ้านห้วยเหล็ก ตำบลกกดู่ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ของเรานั้น ประสบปัญหาความแห้งแล้งน้ำไม่พอใช้ ไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร เราจึงคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชุมชนบ้านห้วยเหล็กของเรา ให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น 
 

ซึ่งอาชีพเสริมของชุมชนของเรานั้นคือ การรวมกลุ่มกันทำข้าวหลาม และข้าวหลามบ้านห้วยเหล็กของเรา มีความโดดเด่นมีรสชาติหอมหวานอร่อย ไม่เหมือนที่อื่น และเราต้องการพัฒนาข้าวหลามของเราให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน 

 

โดยกลุ่มวิศวกรสังคม มรภ.เลย เข้ามามีส่วนช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่โดยใช้ทักษะนาฬิกาชีวิตเข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาในเรื่องของอาหารให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ตัวแทนนักศึกษาวิศวกรสังคม ได้นำเสนอการดำเนินงานผลการการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม 

 

 

 

โครงการที่ได้ดำเนินการในพื้นที่ ประกอบด้วย การร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตข้าวหลามบ้านห้วยเหล็กให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไปสู่ข้าวหลามพันล้าน โดยการเพิ่มไส้ข้าวหลามให้มีความหลากหลาย สู่การคิดค้นการทำสูตรข้าวหลามไส้สังขยา และการคิดค้นทำสูตรข้าวหลามไส้ฝอยทอง และการพัฒนาวิธีการเก็บรักษาข้าวหลามยืดอายุให้สามารถเก็บรักษาข้าวหลามให้ได้นานยิ่งขึ้น 

 

โดยคณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. คณะนักวิจัย ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสียงสะท้อนจากการดำเนินโครงการดังกล่าว

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ